SP50: การใช้งานทั่วไป [ บันทึกผู้ถูกหักภาษี , การออกใบหักภาษี , การพิมพ์ ]

สารบัญ

- วิธีใช้และขั้นตอนการใช้โปรแกรม
- การบันทึกข้อมูลผู้ถูกหักภาษี
- วิธีการออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย
- การพิมพ์
- การใช้ Menu ต่างๆ
- การเข้า/ออก โปรแกรม
- การออกใบหักภาษี ณ ที่จ่าย
- การเรียกข้อมูลผู้ถูกหักภาษี

วิธีใช้และขั้นตอนการใช้โปรแกรมพิมพ์หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย 50 ทวิ



ภาพที่ 1

เครื่องหมายบน Tool Bar
Combo Box คลิ๊กเพื่อเลือกรายการที่ต้องการ
Add คลิ๊กเพื่อเพิ่ม, แก้ไข หรือลบรายการ
New สร้างหน้าใหม่เพื่อการบันทึก
Save คลิ๊กบันทึกข้อมูลที่ key แล้ว
Delete คลิ๊กเพื่อลบใบหักที่ไม่ต้องการ
Print พิมพ์หนังสือรับรองที่ key ไว้
Exit ออกจากโปรแกรม

top
*********************************************************************

บันทึกฐานข้อมูลของผู้ถูกหักภาษี


01. รหัสบริษัท = รหัสของคู่ค้า(นิติบุคคล ใช้ ภ.ง.ด.53) / ผู้ถูกหักภาษี(บุคคลใช้ ภ.ง.ด.3)
เป็นตัวเลขและตัวอักษรไม่เกิน 10 ตัวอักษร
02. เลขประจำตัวผู้เสียภาษี = เลขที่ภาษีของคู่ค้า / ผู้ถูกหักภาษี เป็นตัวเลข 10 ตัวอักษร
03. ชื่อ = ชื่อบริษัทคู่ค้า / ผู้ที่ถูกหักภาษี เป็นตัวเลขและตัวอักษรไม่เกิน 120 ตัวอักษร
04. ที่อยู่ = เป็นที่อยู่ของผู้ที่ถูกหักภาษี
05. หัก % = ใส่เปอร์เซนต์ที่ใช้หักภาษีของรายนี้ เป็นตัวเลขไม่เกิน 3 ตัวอักษร
ถ้ามีการหักภาษีหลายอัตรา ให้เลือกใส่อัตราที่ใช้บ่อยที่สุดเพียงอัตราเดียว
06. หักแบบ = เป็น Combo Box ให้เลือกประเภท การออกภาษีให้ครั้งเดียว / ออกภาษีให้ตลอดไป
หรือหัก ณ ที่จ่าย ถ้า 3 แบบนี้ไม่ใช่ ให้คลิ๊กที่ช่องอื่นๆ แล้วระบุชื่อประเภทการหักภาษีลงในช่องว่างใน
Combo Box ได้เลย
07. เลขที่บัตรประชาชน = ใช้ในกรณีที่ออกให้เป็นบุคคล เป็นตัวเลขไม่เกิน 13 ตัวอักษร
08. ปุ่ม Add = ใช้บันทึกข้อมูลที่กรอกครั้งแรกเสร็จเรียบร้อยแล้ว
09. ปุ่ม Save = ใช้บันทึกข้อมูลที่มีการแก้ไข เปลี่ยนแปลงเสร็จเรียบร้อยแล้ว
10. ปุ่ม  = ปิดหน้าจอในส่วนบันทึกผู้ถูกหัก และกลับสู่หน้าจอหลักของโปรแกรม
11. วิธีการเรียกข้อมูลที่เคยบันทึกไว้ขึ้นมาดูหรือแก้ไข = ใส่รหัสบริษัท แล้ว Enter หรือกดปุ่ม F3 ,
หรือ ดับเบิ้ลคลิก ในช่องรหัสบริษัท

top
**************************************************************************

วิธีการออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย


ภาพที่ 3

? ใส่รหัสบริษัท แล้ว Enter หรือกดปุ่ม F3 , หรือดับเบิ้ลคลิก , ในช่องรหัสบริษัท หรือใส่ตัวย่อของชื่อบริษัท ในช่องชื่อและกด Page Down
? คลิ๊กเลือกแบบ ภ.ง.ด. ที่ต้องการออกที่ Combo Box ในช่องแบบ
? เลือกประเภทเงินได้ที่จะหักในข้อ 1-5 ถ้าข้อใดมี Combo Box สามารถคลิ๊กเลือกรายการในนั้นได้เลย และรายการที่ไม่มีในข้อ 1-5 ให้ระบุประเภทเงินได้ใส่ในช่องข้อ 6 (อื่นๆ ระบุ) หรือจะทำการ Add สำหรับใช้ภายหน้า
? ประเภทเงินได้อื่น (ข้อ6) หากต้องใช้เป็นประจำสามารถบันทึกไว้ โดยคลิ๊กที่ปุ่ม  แล้วจะมีกรอบข้อความแสดงขึ้นมา ให้ใส่ประเภทเงินได้ในช่องบน แล้วคลิ๊กปุ่ม Add ที่อยู่ด้านล่าง เสร็จแล้วคลิ๊กปุ่ม OK ต่อไปใน Combo Box ก็จะมีรายการนั้นๆ ให้เลือกใช้
? กรอกจำนวนเงินในช่องจำนวนเงินตามประเภทเงินได้ที่เลือกไว้ จะเห็นว่าภาษีจะคิดให้เองอัตโนมัติ ตามอัตรากำหนดไว้ ดูได้จากช่อง หัก% และสามารถเปลี่ยนอัตรา% ที่หักภาษีได้เลย โดยแก้ในช่อง หัก% ได้เลย แต่ต้อกรอกจำนวนเงินใหม่อีกครั้ง เพื่อให้คิดคำนวณภาษีอัตโนมัติใหม่
? ระบุวันที่หักภาษี ในช่อง วัน/เดือน/ปี ตามที่ต้องการ เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ทำการบันทึกข้อมูล
โดยคลิ๊กที่ปุ่ม  วันที่หักภาษี ในช่อง วัน/เดือน/ปี ถ้าไม่กำหนด ในโปรแกรมจะถือเอาวันที่ปัจจุบัน เป็นตัวตั้ง
? ถ้าเราต้องการเรียกดูข้อมูลใบหักที่ออกไปแล้ว เพื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูล สามารถทำได้โดยคลิ๊กเลือกแบบ ภ.ง.ด. ที่ต้องการที่ Combo Box ในช่องแบบ แล้วคลิ๊กไปที่ช่องเลขที่ เพื่อเรียกเลขที่เป็นใบที่เราต้องการ หรือกดปุ่ม Page Up และ Page Down ในการเลื่อนดูใบหักที่เคยบันทึกข้อมูลไว้ และถ้าต้องการบันทึกข้อมูลที่แก้ไขใหม่แทนที่ในใบหักเลขที่เดิม ให้คลิ๊กที่ปุ่ม

top
*****************************************************************************
การพิมพ์


ภาพที่ 4

3.1 พิมพ์หนังสือ 50 ทวิ เรียกพิมพ์ได้จาก 2 แหล่ง คือ
- เครื่องหมาย Print ใน Tool Bar สามารถเรียกพิมพ์ 50 ทวิ ฉบับที่แสดงอยู่หน้าจอ
- คำสั่งพิมพ์ 50 ทวิใน Menu Bar แฟ้ม ? พิมพ์ 50 ทวิ จะสามารถพิมพ์หนังสือ 50 ทวิ
ตามหมายเลขที่ระบุทั้งหมดประจำเดือนนั้นๆ ที่เลือกให้โปรแกรม Active อยู่
3.2 พิมพ์ ภ.ง.ด. สามารถเลือกพิมพ์ได้จาก 2 ประเภท คือ
- คำสั่ง พิมพ์ ภ.ง.ด. ใน Menu Bar แฟ้ม ? พิมพ์ ภ.ง.ด. ออก DOT สามารถเรียกพิมพ์
แบบยื่น และ ใบต่อของ ภ.ง.ด.53 และ ภ.ง.ด.3 ตามภาพที่


ภาพที่ 5

- คำสั่ง พิมพ์ ภ.ง.ด. ใน Menu Bar แฟ้ม ? พิมพ์ ภ.ง.ด. ออก Laser สามารถเรียกพิมพ์
แบบยื่น ภ.ง.ด.53 และ ภ.ง.ด.3


ภาพที่ 6

หมายเหตุ - การพิมพ์ออก DOT แบบยื่นของ ภ.ง.ด.53 และ ภ.ง.ด. 3 ใช้ฟอร์มของสรรพากรปี 44
- การพิมพ์ออก Laser แบบยื่นของ ภ.ง.ด.53 ใช้ฟอร์ม ของสรรพากรปี 47
- การพิมพ์ออก Laser แบบยื่นของ ภ.ง.ด.3 ใช้ฟอร์ม ของสรรพากรปี 4

top
************************************************************************

การใช้ Menu ต่างๆ บน Menu Bar


เมนู แฟ้ม

สร้าง = การเริ่มออกใบหัก 50 ทวิ

บันทึก = การเก็บข้อมูลใบหัก 50 ทวิ ที่อยู่บนหน้าจอ

ผู้ถูกหักภาษี = ส่วนกรอกข้อมูลลูกค้า /ผู้ถูกหัก

ลบทิ้ง = ลบใบหัก 50 ทวิ ที่กำลังแสดงบนหน้าจอ

ตั้งค่าขอบกระดาษ = ใช้สำหรับการพิมพ์แบบยื่น ภ.ง.ด.53, 3 โดยเป็นการปรับตั้งค่าการ
พิมพ์ลงฟอร์มแบบยื่นให้เลื่อนไปทางด้านซ้ายหรือขวาได้ การกำหนดค่าทำได้ดังนี้ ปกติจะตั้งค่าไว้ที่ 0 สำหรับการเลื่อน 1 ตัวอักษรมีค่าเท่ากับ 100 ถ้าต้องการไปทางซ้ายให้ใส่เครื่องหมาย ? ข้างหน้าด้วย ถ้าต้องการไปทางขวาใส่เฉพาะตัวเลขได้เลย เช่นไปทางซ้าย 2 ตัวอักษร ให้ใส่ค่าเป็น ?200 ส่วนถ้าไปทางขวา 3 ตัวอักษร ให้ใส่ค่าเป็น 300

พิมพ์ 50 ทวิ เฉพาะชื่อ = ใช้สำหรับพิมพ์เฉพาะชื่อบริษัท และ ที่อยู่ของผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายเมื่อต้องการใช้

พิมพ์ 50 ทวิ = การพิมพ์ใบรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย 50 ทวิ แบบต่อเนื่องตามที่เรา
ระบุของ ภ.ง.ด. แต่ละประเภท โดยปกติจะแสดงเลขที่ตั้งแต่ใบแรกถึงใบสุดท้ายที่ได้มีการบันทึกข้อมูลไว้ และสามารถระบุวันออกหนังสือรับรองตามที่เราต้องการได้

พิมพ์ ภ.ง.ด. ออก Dot = การเลือกพิมพ์แบบยื่นและใบต่อของ ภ.ง.ด. โดยเครื่องพิมพ์หัวเข็ม

พิมพ์ ภ.ง.ด. ออก Laser = การเลือกพิมพ์แบบยื่นของ ภ.ง.ด. โดยเครื่องพิมพ์เลเซอร์

จบการทำงาน = ออกจากโปรแกรม


เมนู แสดงรายชื่อ

ออกกระดาษ = รายงานแสดงรหัสบริษัท, ชื่อบริษัท และเลขประจำตัวผู้เสียภาษี ที่ตั้ง
ไว้ออกมาทางกระดาษ
ออกหน้าจอ = แสดงข้อมูลรหัสบริษัท, เลขผู้เสียภาษี และชื่อบริษัทของลูกค้า
ทางหน้าจอ เพื่อสะดวกในการใช้งาน


เมนู เครื่องมือ

เลขที่ ภ.ง.ด. ปัจจุบัน = แสดงเลขที่ใช้งานถัดไปของ ภ.ง.ด. แต่ละประเภท

ประเภทเงินได้ = ประเภทเงินได้อื่นๆ ที่นอกเหนือจากประเภทเงินได้ในข้อ 1-5

ย้ายเดือน = เลือกเดือนที่ต้องการใช้งานจาก Combo Box โดยจะมีให้เลือกเดือน-ปี
ตั้งแต่เริ่มใช้โปรแกรม 50 ทวิ

ขึ้นเดือนใหม่ = เป็นการขึ้นเดือนใหม่ถัดไปเพื่อใช้งานหรือสำหรับการออกใบหักภาษี
50 ทวิ ล่วงหน้า

เปลี่ยนรหัสผ่าน = เป็นการเปลี่ยนรหัสผ่านเพื่อรักษาความปลอดภัยในการเข้าใช้โปรแกรม
ของผู้ใช้โปรแกรมเท่านั้น

สำรองข้อมูล = เพื่อเก็บไว้ใช้งานเมื่อต้องการ หรือเครื่องมีปัญหา
โดยสามารถสำรองข้อมูลไว้ได้ทั้งที่เครื่องและแผ่นดิสก์

นำข้อมูลสำรองมาใช้ = เพื่อนำข้อมูลที่สำรองไว้กลับมาใช้งาน


เมนู วิธีใช้

50tviLD2-Tutor = คู่มือวิธีการใช้โปรแกรม 50TviLD2

top
**************************************************************************

วิธีการเข้า และ ออกจากโปรแกรม

การเข้าโปรแกรม
DOUBLE CLICK ที่ ICON 50 ทวิ   ที่ปรากฏอยู่ที่หน้าจอ จากนั้นจะแสดง ภาพดังนี้

ให้ใส่ USER NAME และ PASSWORD ดังนี้
USER NAME = SUM
PASSWORD = 1234567890


ภาพที่ 1


ภาพที่ 2

เมื่อเข้าโปรแกรมได้แล้ว จะปรากฏหน้าต่างดังภาพที่ 2 เพื่อใช้งานต่อไป

*****************************************************

วิธีการออกจากโปรแกรมสามารถทำได้หลายวิธีดังนี้

คลิ๊กที่ แฟ้ม -> จบการทำงาน  / Yes
คลิ๊กที่มุมบนขวาสุดของโปรแกรมที่เป็นรูปกากบาท
คลิ๊กที่มุมล่างขวาสุดของโปรแกรมที่เป็นรูป icon   Yes

top
*****************************************************************************************

วิธีการออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย

? ใส่รหัสบริษัท แล้ว Enter หรือกดปุ่ม F3, หรือดับเบิ้ลคลิก , ในช่องรหัสบริษัท หรือใส่ตัวย่อของชื่อบริษัท ในช่องชื่อและกด Enter


( ภาพ )

? คลิ๊กเลือกแบบ ภ.ง.ด. ที่ต้องการออกที่ Combo Box ในช่องแบบ


( ภาพ )

? เลือกประเภทเงินได้ที่จะหักในข้อ 1-5 ถ้าข้อใดมี Combo Box สามารถคลิ๊กเลือกรายการในนั้นได้เลย และรายการที่ไม่มีในข้อ 1-5 ให้ระบุประเภทเงินได้ใส่ในช่องข้อ 6 (อื่นๆ ระบุ) หรือจะทำการ Add สำหรับใช้ภายหน้า


( ภาพ )

? ประเภทเงินได้อื่นๆ (ข้อ6) หากต้องใช้เป็นประจำสามารถบันทึกไว้ โดยคลิ๊กที่ปุ่ม แล้วจะมีกรอบข้อความแสดงขึ้นมา ให้ใส่ประเภทเงินได้ในช่องบน แล้วคลิ๊กปุ่ม Add ที่อยู่ด้านล่าง เสร็จแล้วคลิ๊กปุ่ม OK ต่อไปใน Combo Box ก็จะมีรายการนั้นๆ ให้เลือกใช้


( ภาพ )

? กรอกจำนวนเงินในช่องจำนวนเงินตามประเภทเงินได้ที่เลือกไว้ จะเห็นว่าภาษีจะคิดให้เองอัตโนมัติ ตามอัตราที่กำหนดไว้ ดูได้จากช่อง หัก% และสามารถเปลี่ยนอัตรา% ที่หักภาษีได้เลย โดยแก้ในช่อง หัก% ได้เลย แต่ต้องกรอกจำนวนเงินใหม่อีกครั้ง เพื่อให้คิดคำนวณภาษีอัตโนมัติใหม่


( ภาพ )

? ระบุวันที่หักภาษี ในช่อง วัน/เดือน/ปี ตามที่ต้องการ เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ทำการบันทึกข้อมูล
โดยคลิ๊กที่ปุ่ม วันที่หักภาษี ในช่อง วัน/เดือน/ปี ถ้าไม่กำหนด ในโปรแกรมจะถือเอาวันที่ปัจจุบัน เป็นตัวตั้ง

? ถ้าเราต้องการเรียกดูข้อมูลใบหักที่ออกไปแล้ว เพื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูล สามารถทำได้โดยคลิ๊กเลือกแบบ ภ.ง.ด. ที่ต้องการที่ Combo Box ในช่องแบบ แล้วคลิ๊กไปที่ช่องเลขที่ เพื่อเรียกเลขที่เป็นใบที่เราต้องการ หรือกดปุ่ม Page Up และ Page Down ในการเลื่อนดูใบหักที่เคยบันทึกข้อมูลไว้ และถ้าต้องการบันทึกข้อมูลที่แก้ไขใหม่แทนที่ในใบหักเลขที่เดิม ให้คลิ๊กที่ปุ่ม

top
******************************************************************************

การเรียกข้อมูลผู้ถูกหักภาษี

วิธีการเรียกข้อมูลที่เคยบันทึกไว้ขึ้นมาดูหรือแก้ไข มีหลายวิธี เช่น
01. ใส่รหัสบริษัท ในช่อง รหัสบริษัท แล้วกด Enter


( ภาพ )

02.เลือกที่ ช่องรหัสบริษัท แล้ว กดปุ่ม F3 จะมีหน้าต่างข้อมูลที่เราใส่ลงไปในฐานข้อมูลลูกค้าปรากฏขึ้น
ถ้าจะเลือกข้อมูลใด ให้ Double Click ที่ข้อมูล


( ภาพ )

03. Double Click ในช่องรหัสบริษัท
จะมีหน้าต่างข้อมูลที่เราใส่ลงไปในฐานข้อมูลลูกค้าปรากฏขึ้น
ถ้าจะเลือกข้อมูลใด ให้ Double Click ที่ข้อมูล

top
******************************************************************************


 


name        :
Comment :